วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วันพุธที่  28  มกราคม  พ.ศ.  2558

ความรู้ที่ได้รับ
หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรม คือ สิ่งที่ครูจัดขึ้นให้กับเด็ก
ประสบการณ์ คือ เด็กที่ได้รับทั้ง 4 ด้านและพัฒนาการ
 กิจกรรมและประสบการณ์จะต้องควบคู่กันไปโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับครู
ความสำคัญ : ศิฃปะเป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
-  ประสบการณ์ด้านการสำรวจตรวจสอบ ( สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว )
-  ประสบการณ์ด้านวัสดุ- อุปกรณ์ (เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ )
-  ประสบการณ์ด้านความรู้สึกและการใช้ประสาทสัมพันธ์
ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์โดยตรงที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเผชิญกับความจริงเกี่ยวกับ คน สัตว์ พืช สถานที่
จุดมุ่งหมายการสอนศิปละ
- การสอนศิปละเด็กไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง
- เป็นการสอนปลูกฝังนิสัยอันดีงาม ละเอียดอ่อน ความพร้อมระดับที่สูงขึ้น
- จุดมุ่งหมายเพื่อ
   1. ฝึกการใช้มือและเตรียมความพร้อมผ่านประสาทสัมพันธ์ทั้ง 5 
   2. ส่งเวริมความคิดสร้างสรรค์ + ความสามารถของเด็กแต่ละคน
   3. พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ
   4. ปลูกฝังค่านิยม เจตคติและคุณสมบัติที่ดีของศิลปะวัฒนธรรมไทย   
5. ฝึกให้เด็กเริ่มต้นใช้เครื่องมือในการทำศิลปะตลอดการเก็บรักษาและทำความสะอาด
   6. ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
   7. เปิดโอกาศให้เด็กแสดงออกอิสระผ่อนคลาย สนุกสนาน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยนช์
   8. นำประสบการณืที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

บทบาทของครู

  • เป็นผูสร้างบรรยายกาศ ( ประดิษฐ์คิดค้น )
  • เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน ( พูดคุย )
  • เป็นผู้ดูแลเด็กในการสร้างสรรค์ผลงาน ( ให้ความรัก ความอบอุ่น )
  • เป็นต้นแบบที่ดี ( สาธิตวิะีการสอนที่ถุกต้อง ไม่เผด็จ
  •  เป็นผูอำนวยความสะดวก

บทบาทของครูศิลปะ

  •  สอนด้วยใจรักเอาใจใส่
  • ยอมรับความสามารถของเด็กละบุคคล
  • เปิดโอกาศและอิสระเด็กในการสร้างผลงาน
  • ไม่แทรกแซงความคิดของเด็ก
  • กระตุ้น ยั่งยุ ท้าทายให้เด็กแสดงความสามารถ
  • มีการวางแผน จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ล่วงหน้า
ข้อคำนึงการสอนศิลปะ
  •  หลีกเหลี่ยงการให้แบบ
  • ช่วยพัฒนาการเป็นตัวเองให้กับเด็ก
  • ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้น
  • ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน
  • ไม่วิจารณ์ผลงานเด็ก
  • มีส่วยช่วยให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่าผลงานของเด็ก
  • ขยายประสบการณ์สิลปะให้กับเด็ก
การเตรียมการสอนศิลปะ
  • การสร้างข้อตกลง
  • จัดเตรียมวสัดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
  • จัดวางวัสดุ อุปกรณ์ให้ใช้ได้ง่าย
  • จัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม
  • การจัดเก็บผลงาน
ขั้นตอนการสอนศิลป
๑. เลือกเรื่องที่จะสอน
๒ .กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอ
๓. เตรียมการก่อนสอ
- เตรียมแผนการสอน  เรื่อง  จุดประสงค์  เนื้อหา  ระยะเวลา  สื่อการสอน  จำนวนเด็ก  จำนวนกิจกรรม  สถานที
- เตรียมอุปกรณ์การสอ
 -ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริง
 -ทำการสอนจริงตามแผน
 -เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือทำผลงาน เช่น การแบ่งกลุ่มเด็ก  การให้เด็กสวมผ้ากันเปื้อน  การปฏิบัติตามข้อตกลง
 -การปฏิบัติงานของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้ดูแล  แนะนำ  ช่วยเหลือ ตลอดจนเขียนชื่อ และจดบันทึกข้อมูล
 -การเก็บ การรักษา และการทำความสะอาด
  -การประเมินผลงานเด็ก

เทคนิควิธีสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
เข้าถึง   ดูแล  เอาใจใส่ ใกล้ชิดเด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียม
•เข้าใจ  – ความสามารถ  ความแตกต่างระหว่างบุคคล
•ให้ความรัก  – รักและเข้าใจ สนับสนุนและพัฒนา  ช่วยเหลือ
•สร้างสรรค์บรรยากาศ – หลากหลาย สนุกสนาน อิสระ
•มีระเบียบวินัย – มีข้อตกลงร่วมกัน และปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัยในการทำงาน
•ปลอดภัย  – คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก




                                                                                        


 การวาดภาพแบบต่อเติม               การวาดภาพแบบลวดลายของเส้น



                              วาดภาพที่เราอยากจะวาดแล้วลวดลายเส้นมาใส่


วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วันพุธ ที่  21  มกราคม  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
 ศิลปะสร้างสรรค์เป็นการเชื่อมโยงระหว่างมือกับตา วันนี้เรียนรู้ศิลปะในการใช้อวัยวะของเรานำมาทำศิลปะสร้างสรรค์ที่สวยงาม  อาจารย์กำหนดให้ใช้มือในการทำศิลปะ





วันพฤหัสบดี  ที่  22 มกราคม  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
ศิลปะคืออะไร   ตั้งแต่เดิมหมายถึงงานช่างฝีมือที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง งานศิลปะไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
ศิลปะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท   
จิตรกรรม คือ การวาดภาพ  เทคนิดการวาดภาพ
ประติมากรรม  คือ  การปั่น
สถาปัตยกรรม  คือ  สิ่งก่อสร้างต่างๆที่เป็นจุดสนใจ
ศิลปะ คือ ความงามทางกาย ทางใจ  รูปทรง การแสดงออก

ความหมายของศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สิ่งที่เด็กแสดงออกถึงความคิด ความเข้าใจ และการแปลความหมายของสิ่งแวดล้อม
  • ศิลปะที่มองเห็นเรียกว่า ทัศนศิลป์ คือ ศิลปะสองมิติ สามมิติแทนความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยตรง
  • ศิลปะสำหรับเด็กไม่ใช่แค่การวาดภาพแต่เป็นการแสดงออกทางการสื่อสาร การถ่ายทอดจิตนาการความริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคน
ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ตอบสนองความต้องการของเด็ก เช่น การวาดรูป การขีดเขียน 
จิตนาการถ่ายทอดความรู้สึกที่บางครั้งไม่สามารถบอกได้
-เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย เช่นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
-ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้กว้างขึ้น
-ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
-ช่วยเสริมสร้างกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
  • ทฤษฎีพัฒนาการ โลเวนเฟลด์ ( Lowenfeld )
  • ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
- ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด : เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์  ความมีเหตุผล  การแก้ปัญหา
ความสามารถทางสมอง แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ 
1 เนื้อหา : มิติเกี่ยวกับข้อมูล หรือ สิ่งเร้าสื่อในการคิด สมองจะรับข้อมูลมี4 ลักษณะ ได้แก่ ภาพ  สัญลักษณ์  ภาษา พฤติกรรม
2 วิธีการคิด : มี 5 ลักษณะ ได้แก่  การรู้จักการเข้าใจ  การจำ  การคิดแบบอเนกนัย  การคิดแบบเอกนัย   การประเมินค่า 
3 ผลการคิด : มี 6 ลักษณะ ได้แก่  หน่วย  จำพวก ความสัมพันธ์ ระบบ การแปลงรูป การประยุกต์
สรุป ... ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ดพูดถึงพัฒนาการการทำงานของสมอง ตามความสามารถแบบจำลองในลักษณะ 3 มิติ คือ มีเนื้อหา 4 มิติ วิธีการคิด 5 มิติ และผลทางการคิด 6 มิติ รวมถึงความคิกแบบอเนกนัย เป็นความคิดที่หลายทิศทาง

- ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ : ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย ได้แก่ ความคล่องแคล่วในการคิด  ความยืดหยุนในการคิด  ความริเริ่มในการคิด
 แบ่งลำดับความคิดเป็น 5 ขั้น 
  • ขั้นค้นพบความจริง
  • ขั้นการค้นพบปัญหา
  • ขั้นการตั้งสมมติฐาน
  • ขั้นการค้นพบคำตอบ
  • ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
สรุป.. ทอนแรนซ์ กล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนของความรู้สึกไวต่อปัญหาขั้นตอนความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะคล้ายคลึงกับการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
- ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ : เป็นทฤษฎีที่กำลังให้ความสนใจในการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีกที่แตกต่างกัน
สมองซีกขวา : เป็นส่วนจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์จะพัฒนาได้มากในช่วง 4-7 ปี
สมองซีกซ้าย : เป็นส่วนการคิด มีเหตุผลจะพัฒนาในช่วง 9-12 ปีและเจริญเติบโตเต็มที 11-13 ปี
- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ : ประกอบด้วย 9 ด้าน
  1. ความสามารถด้านภาษา
  2. ความสามารถด้านตรรกวิทยา และคณิตศาตร์
  3. ความสามารถด้านดนตรี
  4. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
  5. ความสามารถด้านกีฬา
  6. ความสามารถมนุษยสัมพันธ์
  7. ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
  8. ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
  9. ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
   ลักษณะที่สำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
  •  ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
  • ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้
  • ปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่้วมกันได้
  • ปัญญาแต่ละด้านมีความสามารถหลายอย่าง
-ทฤษฎีโอตา : เดวิส และซัลลิแวน ความคิดสร้างสรรค์นั้นมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้ มี 4 ขั้นตอน
  1.  การตระหนัก ได้แก่ การพัฒนาปรีชญาณ  การรู้จักและเข้าใจตนเอง  การมีสุขภาพจิตที่สมบรูณ์  การมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
  2. ความเข้าใจ มีความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ
  3. เทคนิควิธี ได้แก่ เทคนิควิธีการฝึกความสร้างสรรค์  การระดมความคิด  การคิดเชิงเปรียบเทียบ การฝึกจิตนาการ
  4. การตระหนักความจริงในสิ่งต่างๆ  เปิดรับประสบการณ์ต่างๆอย่างเหมาะสม มีความคิดริเริ่มผลิตผลงานด้วยตนเอง สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
พัฒนาการทางศิลปะ
วงจรการขีดเขียน มี 4 ขั้นตอน
  1. ขั้นขีดเขี่ย เด็กวัย 2ขวบ ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติเป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้างปราศจากการควบคุม
  2. เขียนเป็นรูปร่าง เด็กวัย 3 ขวบเริ่มเป็นรูปร่างขึ้นเขียนเป็นวงกลมควบคุมมือกับตาได้มากขึ้น
  3. รู้จักออกแบบ เด็กวัย 4 ขวบ เขียนเป็นรูปร่างได้เป็นเค้าโครงและวาดสี่เหลี่ยมได้
  4. การวาดแสดงเป็นภาพ เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป เริ่งแยกแยะวัตถุได้รับรู้ความเป็นจริงควบคุมการเขียนได้วาดสามเหลี่ยมได้
พัฒนาการด้านร่างกาย  กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการเคลื่อนของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กดังนี้
  ด้านการตัด: อายุ 3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้น
                   อายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็รเส้นตรง
                   อายุ 5-6 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆ
การขีดเขียน : อายุ 3-4 ปี เขียนเป็นวงกลมตามแบบได้
                    อายุ 4-5 ปี เขียนสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามแบบได้
                              อายุ 5-6 ปี  เขียนสามเหลี่ยมตามแบบได้
การพับ : อายุ 3-4 ปี พับสองทบได้
                อายุ 4-5 ปี  พับสามทบได้
              อายุ 5-6 ปี   พับได้คล่องแคล่วหลายแบบ
การวาด : อายุ 3-4 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
               อายุ 4-5 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ลำตัว เท้า
               อายุ 5-6 ปี  วากภาพคนมี ศีรษะ ตา ปาก ลำตัว จมูก แขน มือ คอ




วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  1 
วันพุธ  ที่  7  มกราคม  พ.ศ.  2558

แนะแนวการสอนการเขียนจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  ข้อตกลงในการเรียนการสอน
เช่นการแต่งกายที่เรียบร้อย  กิริยามารยาท  การเข้าห้องเรียน

                       วันพุธ  ที่  14  มกราคม  พ.ศ.  2558
ความรู้ที่ได้รับ
เริ่มแรกอาจารย์เปิด วีดีโอเรื่องของ ด.เด็กกับช.ช้างให้ดู
วีดีดอสื่อถึงโรงเรียนแห่งหนึ่ง มีนักเรียนและครูชั้นป. 1/3 ซึ่งครูให้วาดสัตว์ตามจิตนาการโดยครูนั่งอยู่หน้าห้องเรีบยไม่มีการเดินดูนักเรียนเมื่อถึงเวลาส่งผลงานครูก็ให้คะแนนตามที่เห็นผลงานของเด็กเมื่อมาถึงเด็กคนหนึ่งที่วาดช้างที่สวยแต่ครูกลับไม่เชื่อว่าเด็กคนนี้เป็นคนวาดด้วยตนเองทำให้เขากลับรู้สึกเสียใจที่ครูไม่เชื่อเขา ครูจึงให้เด็กคนนี้วาดภาพส่งใหม่โดยมีเพื่อนในชั้นเรียนและครูมาดู
ข้อคิดที่ได้จากการดู :  การเป็นครูจะต้องไม่มีพฤติกรรมนั่งอยู่เฉยๆในชั้นเรียน ครูควรที่จะต้องเดินดูผลงานขั้นตอนการทำงานของเด็กเพื่อให้เห็นถึงการทำงาน และผลงานของเด็กที่เขาทำเองจริงๆ
ขั้นตอนการวาดภาพศิลปะ : อันดับแรกครูจะต้องชี้แจงรายละเอียดของการแจกอุปกรณ์ ถ้าไม่บอกเด็กอย่างชัดเจนเขาก็จะทำในสิ่งที่เราไม่ได้พูดดังนั้นจะให้เด็กทำอะไรต้องบอกให้ชัดเจน
การวาดภาพศิลปะครูควรเดินดูพฤติกรรม ขั้นตอนการทำงานของเด็ก การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน 
การประเมิน :  ไม่ได้ประเมินตรงชิ้นงานของเด็กอย่างเดียว ต้องดูความตั้งใจ ความสามารถของเด็ก ชิ้นงานของเด็กออกมาเป็นอย่างไร
เมื่อเด็กทำผลงานเสร็จควรถามเด็กว่ารูปที่หนูวาดคืออะไรแล้วพูดให้เด็กบอกรายละเอียดของผลงานให้ได้มากที่สุดแล้วเขียนตามที่เด็กพูดเพื่อให้เด็กเห็นถึงคำศัพท์
ในการติกผลงานของเด็กก็สำคัญควรติดระดับสายตายของเด็กเรียงเป็นลำดับให้เรียบร้อยเพราะเราได้เซ็กเด็กว่ามาครบหรือเปล่า







วันพฤหัสบดี  ที่  15  มกราคม   พ.ศ.  2558

ความรู้ที่ได้รับ
       Pretes
1. ศิลปะคืออะไร มีความสำคัญกับเด็กปฐมวัยอย่างไร
    ตอบ ศิลปะ คือ ความสวยงามที่มีความคิดจากจิตนาการความคิดสร้างสรรค์ของมุนษย์ที่สร้างขึ้นเองและเกิดขึ้นจากธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความสวยงามแปลกใหม่และมีความสำคัญในการกระตุ้นการทำงานของสมองโดยผ่านกระบวนการขั้นจอนในการสร้างสรรค์ผลงานโดยมีให้เด็กมีทักษะ 4 ด้านทั้ง ร่างกาย อารมณ์   สังคม และสติปัญญาเพื่อเป็นการเสริมสร้างความคิดจิตนาการ
2. ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยในแนวคิดของนักศึกษาเป็นอย่างไร
    ตอบ  ต้องเป็นสิ่งที่พัฒนาความสามารถของเด็กเปิดโอกาสให้เด็กมีความอิสระและเป็นสิ่งที่เด็กมีความสุข
3. คุณลักษณะของครปฐมวัยที่สอนศิลปะสร้างสรรค์มีคุณลัษณะอย่างไร
    ตอบ   - มีความคิดสร้างสรรค์
              - ไม่ตัดสินผลงานจากความสวยงามเท่านั้น
              -  มีความร่าเริงแจ่มใส ยิ้มง่าย
              -  มีความกระฉับกะเฉง
              -  จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้ครบถ้วน
              -  เดินสำรวจเด็กขณะทำกิจกรรม
4. ครูปฐมวัยควรสอนศิลปะอะไรให้กับเด็ก
    ตอบ  การวาดภาพ  เป่าสี  พิมพ์ภาพ  ทับภาพ   กลิ้งสี   การหยดสี
5. ให้นักศึกษายกตัวอย่างกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
    ตอบ - การวาดเส้น ได้แก่  ตรง หยัก เฉียง  สลับฟันปลา
            - สี
            - รูปร่าง   รูปทรง
6. นักศึกษาจะมีวิธีการประเมินผลงานทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
    ตอบ  การสังเกต
              แฟ้มสะสมผลงาน
              การบันทึก หรือสัมภาษณ์
7. นักศึกษามีความคาดหวังอะไรบ้างจากการเรียนวิชานี้
    ตอบ  คาดหวังที่จะเรียนรู้จากความสำคัญและประสบการณ์ทางศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยการเลือกวัสดุ การใช้เทคนิคการสอน  การควบคุมชั้นเรียนในห้องเรียน  บรรยากาศในการสอนศิลปะสร้างสรรค์