วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วันพุธ ที่  21  มกราคม  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
 ศิลปะสร้างสรรค์เป็นการเชื่อมโยงระหว่างมือกับตา วันนี้เรียนรู้ศิลปะในการใช้อวัยวะของเรานำมาทำศิลปะสร้างสรรค์ที่สวยงาม  อาจารย์กำหนดให้ใช้มือในการทำศิลปะ





วันพฤหัสบดี  ที่  22 มกราคม  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
ศิลปะคืออะไร   ตั้งแต่เดิมหมายถึงงานช่างฝีมือที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง งานศิลปะไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
ศิลปะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท   
จิตรกรรม คือ การวาดภาพ  เทคนิดการวาดภาพ
ประติมากรรม  คือ  การปั่น
สถาปัตยกรรม  คือ  สิ่งก่อสร้างต่างๆที่เป็นจุดสนใจ
ศิลปะ คือ ความงามทางกาย ทางใจ  รูปทรง การแสดงออก

ความหมายของศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สิ่งที่เด็กแสดงออกถึงความคิด ความเข้าใจ และการแปลความหมายของสิ่งแวดล้อม
  • ศิลปะที่มองเห็นเรียกว่า ทัศนศิลป์ คือ ศิลปะสองมิติ สามมิติแทนความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยตรง
  • ศิลปะสำหรับเด็กไม่ใช่แค่การวาดภาพแต่เป็นการแสดงออกทางการสื่อสาร การถ่ายทอดจิตนาการความริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคน
ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ตอบสนองความต้องการของเด็ก เช่น การวาดรูป การขีดเขียน 
จิตนาการถ่ายทอดความรู้สึกที่บางครั้งไม่สามารถบอกได้
-เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย เช่นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
-ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้กว้างขึ้น
-ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
-ช่วยเสริมสร้างกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
  • ทฤษฎีพัฒนาการ โลเวนเฟลด์ ( Lowenfeld )
  • ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
- ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด : เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์  ความมีเหตุผล  การแก้ปัญหา
ความสามารถทางสมอง แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ 
1 เนื้อหา : มิติเกี่ยวกับข้อมูล หรือ สิ่งเร้าสื่อในการคิด สมองจะรับข้อมูลมี4 ลักษณะ ได้แก่ ภาพ  สัญลักษณ์  ภาษา พฤติกรรม
2 วิธีการคิด : มี 5 ลักษณะ ได้แก่  การรู้จักการเข้าใจ  การจำ  การคิดแบบอเนกนัย  การคิดแบบเอกนัย   การประเมินค่า 
3 ผลการคิด : มี 6 ลักษณะ ได้แก่  หน่วย  จำพวก ความสัมพันธ์ ระบบ การแปลงรูป การประยุกต์
สรุป ... ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ดพูดถึงพัฒนาการการทำงานของสมอง ตามความสามารถแบบจำลองในลักษณะ 3 มิติ คือ มีเนื้อหา 4 มิติ วิธีการคิด 5 มิติ และผลทางการคิด 6 มิติ รวมถึงความคิกแบบอเนกนัย เป็นความคิดที่หลายทิศทาง

- ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ : ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย ได้แก่ ความคล่องแคล่วในการคิด  ความยืดหยุนในการคิด  ความริเริ่มในการคิด
 แบ่งลำดับความคิดเป็น 5 ขั้น 
  • ขั้นค้นพบความจริง
  • ขั้นการค้นพบปัญหา
  • ขั้นการตั้งสมมติฐาน
  • ขั้นการค้นพบคำตอบ
  • ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
สรุป.. ทอนแรนซ์ กล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนของความรู้สึกไวต่อปัญหาขั้นตอนความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะคล้ายคลึงกับการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
- ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ : เป็นทฤษฎีที่กำลังให้ความสนใจในการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีกที่แตกต่างกัน
สมองซีกขวา : เป็นส่วนจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์จะพัฒนาได้มากในช่วง 4-7 ปี
สมองซีกซ้าย : เป็นส่วนการคิด มีเหตุผลจะพัฒนาในช่วง 9-12 ปีและเจริญเติบโตเต็มที 11-13 ปี
- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ : ประกอบด้วย 9 ด้าน
  1. ความสามารถด้านภาษา
  2. ความสามารถด้านตรรกวิทยา และคณิตศาตร์
  3. ความสามารถด้านดนตรี
  4. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
  5. ความสามารถด้านกีฬา
  6. ความสามารถมนุษยสัมพันธ์
  7. ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
  8. ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
  9. ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
   ลักษณะที่สำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
  •  ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
  • ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้
  • ปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่้วมกันได้
  • ปัญญาแต่ละด้านมีความสามารถหลายอย่าง
-ทฤษฎีโอตา : เดวิส และซัลลิแวน ความคิดสร้างสรรค์นั้นมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้ มี 4 ขั้นตอน
  1.  การตระหนัก ได้แก่ การพัฒนาปรีชญาณ  การรู้จักและเข้าใจตนเอง  การมีสุขภาพจิตที่สมบรูณ์  การมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
  2. ความเข้าใจ มีความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ
  3. เทคนิควิธี ได้แก่ เทคนิควิธีการฝึกความสร้างสรรค์  การระดมความคิด  การคิดเชิงเปรียบเทียบ การฝึกจิตนาการ
  4. การตระหนักความจริงในสิ่งต่างๆ  เปิดรับประสบการณ์ต่างๆอย่างเหมาะสม มีความคิดริเริ่มผลิตผลงานด้วยตนเอง สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
พัฒนาการทางศิลปะ
วงจรการขีดเขียน มี 4 ขั้นตอน
  1. ขั้นขีดเขี่ย เด็กวัย 2ขวบ ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติเป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้างปราศจากการควบคุม
  2. เขียนเป็นรูปร่าง เด็กวัย 3 ขวบเริ่มเป็นรูปร่างขึ้นเขียนเป็นวงกลมควบคุมมือกับตาได้มากขึ้น
  3. รู้จักออกแบบ เด็กวัย 4 ขวบ เขียนเป็นรูปร่างได้เป็นเค้าโครงและวาดสี่เหลี่ยมได้
  4. การวาดแสดงเป็นภาพ เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป เริ่งแยกแยะวัตถุได้รับรู้ความเป็นจริงควบคุมการเขียนได้วาดสามเหลี่ยมได้
พัฒนาการด้านร่างกาย  กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการเคลื่อนของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กดังนี้
  ด้านการตัด: อายุ 3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้น
                   อายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็รเส้นตรง
                   อายุ 5-6 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆ
การขีดเขียน : อายุ 3-4 ปี เขียนเป็นวงกลมตามแบบได้
                    อายุ 4-5 ปี เขียนสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามแบบได้
                              อายุ 5-6 ปี  เขียนสามเหลี่ยมตามแบบได้
การพับ : อายุ 3-4 ปี พับสองทบได้
                อายุ 4-5 ปี  พับสามทบได้
              อายุ 5-6 ปี   พับได้คล่องแคล่วหลายแบบ
การวาด : อายุ 3-4 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
               อายุ 4-5 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ลำตัว เท้า
               อายุ 5-6 ปี  วากภาพคนมี ศีรษะ ตา ปาก ลำตัว จมูก แขน มือ คอ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น